Virtualization คืออะไร ?

ก่อนอื่นต้องบอกว่า Virtualization ที่เราจะอธิบายเนื้อหากันนั้น ไม่ใช้ Virtual Raility (VR) ที่กำลังเป็นเทรนอยู่ในปัจจุบันนะครับ

ที่นี้เรามาดูกันว่า Virtualization ที่เราจะพูดถึงกันในฝั่งของ Cloud Computing Virtualization คืออะไร

Virtualization หรือเรียกตรงๆ ตัวเลยก็คือ การจำลองเครื่องเสมือนนั่นเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นจะขออธิบายไปพร้อมกับรูปภาพด้านล่างเป็นหัวข้อๆ ไปนะครับ

ที่มา : https://www.geeksforgeeks.org/virtualization-cloud-computing-types/

 

  • Server Hardware (เครื่องเซิฟเวอร์) : ก็คืออุปกรณ์เครื่องเซิฟเวอร์ของเรานั่นเองที่เราคุ้นเคย และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น DELL EMC, HPE, Cisco UCS, Lenovo, Supermicro และอื่นๆ อีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่ได้เอ่ยถึง ก่อนที่เราจะไปใช้งานระบบ Virtualization ก็จะต้องมีเซิฟเวอร์กันก่อน
  • Host OS (ระบบปฏิบัติการ) : หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่จะติดตั้งลงไปที่เซิฟเวอร์ตรงๆ เช่น Windows Server, Linux OS (Ubuntu, Debian, Oracle Linux, AlmaLinux) โดย host OS จะสามารถใช้งานทรัพยากรเครื่องเซิฟเวอร์ได้โดยตรง
    • จากภาพนี้เราลองคิดว่าเราติดตั้งระบบปฏิบัติการ OS Windows Server 2022
  • Hypervisor : เป็นชั้นต่อมาหลังจากที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการไปก่อนหน้านี้เรียบร้อยแล้ว เราก็จะติดตั้งซอฟต์แวร์ (Hypervisor) ที่ทำหน้าที่จัดการทรัพยากรต่างๆ ของเครื่อง เช่น CPU, RAM, Disk, Network และค่าอื่นๆ อีกมากมาย โดยซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมีรายการตามด้านล่าง
    • VMWare ESXi
    • Micosoft Hyper-V (Base on Windows Server)
    • Proxmox VE (Base on KVM)
    • Citrix XenServer
    • OpenStack

จากข้อความด้านบน “จากภาพนี้เราลองคิดว่าเราติดตั้งระบบปฏิบัติการ OS Windows Server 2022” หลังจากเราได้ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย เราก็จะติดตั้ง Hypervisor ที่ชื่อว่า Hyper-V ซึ่งก็เป็นซอฟต์แวร์ของทาง Microsoft เองอยู่แล้วที่ใช้ทำเกี่ยวกับ Virtualization

  • Guest OS : ในส่วนนี้จะมีคำที่เรียกกันหลากลาย เช่น Virtual Machine (VM), Virtual Server, Instance สุดท้ายหลายๆ คำเหล่านี้ที่เราเรียกกันก็ไม่ได้ผิดแต่อย่างใด Guest OS ก็คือการสร้างเครื่องจำลอง เครื่องเสมือน และทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ (OS) ที่อยู่ภายใต้เครื่องเซิฟเวอร์หลักอีกที (Host)
  • Binaries/Libraries : หลังจาก Guest OS ในระบบการจำลองเสมือน (Virtualization) เรามีส่วนที่เรียกว่า “Libraries” และ “Binaries” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการรันและประมวลผลแอปพลิเคชันภายในเครื่องเสมือน
    • Libraries คือชุดของโปรแกรมหรือรหัสที่ถูกเขียนไว้เพื่อให้แอปพลิเคชันสามารถใช้ฟังก์ชันและความสามารถต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการได้
    • Binaries หมายถึงไฟล์ที่ประกอบด้วยรหัสที่ถูกคอมไพล์และพร้อมใช้งาน ไบนารีส่วนใหญ่เป็นไฟล์ที่รันได้โดยตรง ซึ่งเมื่อถูกเรียกใช้งานจะทำงานในรูปของคำสั่งเครื่อง
  • APP : นั่นก็คือ Software/Application ต่างๆ ที่ผู้ใช้งานได้ติดตั้งลงบนเครื่องเสมือนนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น Web Server (IIS, Apache, Nginx,), Database (MariaDB, Redis, MSSQL, MongoDB) หรือโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย

 

มาถึงตรงนี้เราพอจะเห็นภาพกันบ้างหรือยังครับ….

ถ้าจะให้พูดว่า Virtualization ดีอย่างไร นำไปใช้งานในด้านไหน ก็คงต้องบอกข้อดีคือ “คุ้มค่า” เนื่องจากโดยปกติแล้วเราใช้เซิฟเวอร์เครื่องเดียวติดตั้ง OS เดียว เช่น Linux, Windows ก็จะใช้ได้แค่เครื่องเดียว แต่การทำ Virtualization จะทำให้เราสร้างกำหนดแบ่งทรัพยากร และสร้างเครื่องเสมือนได้จำนวนมากขึ้น (ขึ้นอยู่กับทรัพยากรของเครื่อง Host ด้วย) และยังจัดการได้ง่ายขึ้น เช่น การทำ snapshot, backup ซึ่งมี 3rd party software อื่นๆ ให้ใช้งานอีกมากมาย

ในหัวข้อถัดไปเราจะไปดูรายละเอียด Features ของแต่ละ Platform ต่างๆ ให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

 

 

 

 

Published on :

2023-03-27

บทความที่เกี่ยวข้อง

Inspace Cloud เป็นผู้ให้บริการทางด้าน Internet Service Provider (ISP) มีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ตั้งอยู่บริเวณเมืองทองธานี ให้บริการ Colocation, Cloud Server ปัจจุบันให้บริการ Virtual Server มามากกว่า 20,000 VM ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Virtualization โดยเฉพาะ

2023-03-27

Virtualization คืออะไร….หากจะอธิบายฉบับแบบเข้าใจง่ายก็คือ ระบบจำลอง หรือการสร้างเครื่องเสมือน แล้วเครื่องเสมือนที่ว่านี้ เราจะสร้างจากไหน หรือไปสร้างตรงไหนกันละ

2023-03-27

หลายคนคงสังสัยจะนำ Cloud Server ไปใช้งานเกี่ยวกับอะไร Blog นี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก และดูว่านำไปใช้งานอะไรได้บ้าง

2023-03-27